ประวัติโรงเรียนธิดานุเคราะห์

โรงเรียนธิดานุเคราะห์ บริหารโดยนักบวชหญิงคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ (ธ.ม.อ.) ผู้สถาปนาคณะ ได้แก่ นักบุญยอห์น บอสโก และนักบุญมาเรีย มัสซาแรลโล นักบุญยอห์น บอสโก ได้รับสมญานามว่า “บิดาของเยาวชน” เพราะท่านอุทิศชีวิตทั้งหมดของท่าน ในการอบรมเยาวชนให้เป็นบุคคลที่สมบูรณ์แบบ เพื่อเป็นเยาวชนที่สุจริต และคริสตชนที่ดี ด้วยการใช้เหตุผล ศาสนา และความรักเมตตา เป็นวิธีการอบรม ท่านได้ตั้งคณะนักบวชหญิง คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ขึ้น เพื่อสืบทอดมรดกด้านการอบรมนี้ ดังนั้นในการจัดการศึกษาของโรงเรียนธิดานุเคราะห์ จึงได้ยึดเป้าหมายของนักบุญยอห์น บอสโก มาเป็นปรัชญาในการจัดการศึกษา นั้นคือ ทุกคนมีส่วนดีที่พัฒนาได้และมีพันธกิจชีวิตที่ต้องบรรลุเป้าหมาย และคติพจน์ที่ว่า คุณธรรมนำความรู้สู่องค์ความดีนิรันดร์
การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาชีวิตมนุษย์ ให้เติบโตเป็นบุคคลที่สมบูรณ์ มีคุณภาพและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และสร้างสรรค์โรงเรียนธิดานุเคราะห์ เป็นโรงเรียนในเครือคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ ที่ได้รับการก่อตั้งจากนักบุญยอห์น บอสโกและนักบุญมาเรียดอเมนิกา มัสซาแรลโล ผู้ร่วมตั้งคณะ สืบทอดเจตนารมณ์แห่งพระพรพิเศษ และนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสภาพของเด็กและเยาวชนหญิงในปัจจุบัน มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพโดยให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อเด็กและเยาวชน เป็นต้นที่ยากจนและด้อยโอกาสให้เป็นพลเมืองที่สุจริตของชาติ และเป็นศาสนิกชนที่ดีตามอัตลักษณ์ของเยาวชนซาเลเซียน คือ ขยัน ศรัทธาและร่าเริง ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนมุ่งพัฒนาเยาวชนให้ค้นพบพรสวรรค์ และพัฒนาให้เป็นไปตามธรรมชาติอย่างเต็มศักยภาพ และทำให้พวกเขาตระหนักว่าแต่ละคนมีพันธกิจชีวิตที่พระเจ้าเบื้องบนมอบให้ซึ่งต้องทำให้เป็นจริงในชีวิตของตน โรงเรียนจึงได้กำหนดปรัชญาในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ดังนี้ “ทุกคนมีส่วนดีที่พัฒนาได้และมีพันธกิจชีวิตที่ต้องบรรลุเป้าหมาย” นอกนั้นเจตนารมณ์ในการจัดการศึกษาอบรมและอภิบาลของผู้ตั้งคณะ คือ การมุ่งให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและเชี่ยวชาญในความรู้ สามารถเจริญชีวิตในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์และมีความสุขประสบความสำเร็จในชีวิตนี้ และได้รับผลบุญตอบแทนการกระทำของตนในองค์พระเจ้าสูงสุด มีคติพจน์ในการจัดการศึกษาดังนี้ คือ “คุณธรรมนำความรู้ สู่องค์ความดีนิรันดร์”

โรงเรียนธิดานุเคราะห์ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ชื่ออักษรย่อ คือ ธ.น.อาคารเรียนเดิมเป็นเรือนไม้ ๒ ชั้น ตั้งอยู่เลขที่ ๕ ซอยดวงจันทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปัจจุบันตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๕ ถนนแสงศรี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นับตั้งแต่เปิดโรงเรียนเป็นต้นมา โรงเรียนมีความเจริญก้าวหน้าเป็นลำดับ ดังนี้

ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เปิดรับนักเรียนทั้งสิ้น ๒๗๐คน มีครู ๘คน ผู้จัดการคนแรกคือ คุณชูนิน สุคนธหงส์ ครูใหญ่คนแรก คือ ซิสเตอร์มากาเร็ต ธาดาธิเบศร์

ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ทางโรงเรียนได้ขยายกิจการ โดยเปิดแผนกอนุบาลขึ้น มีซิสเตอร์คัทริน โอเปสโซ เป็นผู้จัดการ

ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ จำนวนครู-นักเรียนเพิ่มขึ้นตามลำดับ ทำให้สถานที่คับแคบ จึงจัดซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนใหม่ที่ถนนสวนศิริ ซิสเตอร์อันนา ลัธธนันท์ มารับตำแหน่งครูใหญ่

ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ โรงเรียนได้รับการรับรองวิทยฐานะจากกระทรวงศึกษาธิการ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ปีต่อมาได้ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนใหม่เป็นอาคารมาเรีย บัลโด ซึ่งเป็นอาคารเรียนถาวร ๓ชั้น

ปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ย้ายนักเรียนแผนกประถมและมัธยมมายังโรงเรียนที่ก่อสร้างใหม่ แผนกอนุบาลยังคงเรียนที่เดิม ได้รับอนุญาตให้รับนักเรียนได้ ๑,๑๔๓คน

ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ โรงเรียนได้รับการรับรองวิทยฐานะถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ สร้างอาคารเรียนชั้นเดียวอีก ๑หลัง สำหรับอนุบาล และหอพักนักเรียนประจำ “เอาซีลีอุม” เป็นอาคารถาวร ๓ชั้น

ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ สร้างสะพานคอนกรีตทางเข้าหน้าโรงเรียน เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่นักเรียน ซิสเตอร์โรส มูร์ มารับตำแหน่งอธิการิณีและผู้จัดการโรงเรียน

ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ สร้างโรงอาหารทางด้านหน้าประตูและห้องยาม เพื่อบริการนักเรียน และผู้ที่เข้ามาติดต่อได้ดีขึ้น

ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ สร้างถนนใหญ่ในบริเวณโรงเรียนและสนามบาสเกตบอล ปรับสนามหญ้าอาคารเรียนอนุบาล

ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ซิสเตอร์ลีนา จอล มารับตำแหน่งอธิการิณี

ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ซิสเตอร์เทเรซา ไพเราะ ศันสนยุทธ มารับตำแหน่งครูใหญ่ แทนซิสเตอร์อันนา ลัธนันท์ ที่ย้ายไปประจำการที่อื่น

ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น ๙๖๐คน ครู ๓๕คน จึงจำเป็นต้องต่อเติมอาคารเรียน ซิสเตอร์ฟีโลเมนา มายี รับผิดชอบแผนกอนุบาล

ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ สร้างอาคารเรียนต่อเติม จากอาคารเดิมไปทางปีกซ้าย จัดให้มีห้องพักครู ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องสมุด ห้องรับแขก ห้องอำนวยการ อย่างเหมาะสม เป็นสัดส่วนขึ้นและเพิ่มห้องเรียนอีก ๒ห้อง

ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ซิสเตอร์โรซาลีอา สมพิศ เจนผาสุก มารับตำแหน่งผู้จัดการและครูใหญ่ ปีนี้เพิ่มจำนวนอนุบาล จาก ๔ห้อง เป็น ๕ห้อง

ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ สร้างถนนหน้าอาคารเรียนให้เป็นถนนลาดยาง เชื่อมต่อกับถนนใหญ่หน้าประตู ย้ายเสาธงมาสร้างในที่ใหม่ตรงส่วนกลางถนนหน้าอาคารเรียน

ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ยุบชั้นเตรียมประถมออก ๑ห้อง เพิ่มจำนวนนักเรียนอนุบาลเป็น ๖ห้อง เริ่มจัดให้มีกีฬาสีเป็นกิจกรรมพิเศษขึ้นในโรงเรียน

ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เพิ่มห้องเรียนอนุบาลจาก ๖ห้อง เป็น ๗ห้องและจัดห้องโสตวัสดุอุปกรณ์ขึ้น ๑ห้อง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การใช้โสตทัศนอุปกรณ์ในโรงเรียน

ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ห้องเรียนอนุบาลเพิ่มจำนวนเป็น ๘ห้องเรียน จัดเสริมอาคารด้านหลังเป็นระเบียง เพื่อใช้เป็นห้องอาหารและอำนวยความรื่นรมย์แก่สถานที่ จัดตั้งอนุสาวรีย์แม่พระองค์อุปถัมภ์ไว้เป็นอนุสรณ์ โอกาสครบรอบ ๒๕ปี ของโรงเรียน

ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ซิสเตอร์ไพเราะ ศันสนยุทธ มารับตำแหน่งผู้จัดการและซิสเตอร์สมพิศ เจนผาสุก เป็นครูใหญ่

ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ จัดส่งครู ๗คน เข้าอบรมผู้กำกับกองเนตรนารี เพื่อจัดตั้งกองเนตรนารีตามระเบียบ

ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ จัดส่งครูระดับประถมและมัธยมต้นเข้ารับการอบรมหลักสูตรใหม่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๑

ปี พ.ศ. ๒๕๒๒–๒๕๒๓ จัดส่งครูเข้ารับการอบรมจริยศึกษา ทุกระดับและส่งครูเข้ารับการอบรมวิชาวัดผล พลศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาอนุศึกษา ๔คน ส่งครู ๕คน ศึกษาต่อ ค.บ. ที่วิทยาลัยครูสงขลา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนมากขึ้น

ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ฉลองครบรอบศตวรรษของผู้ตั้งคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ และครบรอบ ๕๐ ปี ที่คณะซิสเตอร์ได้เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย แต่งตั้งซิสเตอร์ทิพยวัลย์ ภาคสุวรรณ เป็นผู้ช่วยครูใหญ่ แทนซิสเตอร์สำรอง จิตอุทัศน์

ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ซิสเตอร์คัทริน โอเปสโซ ย้ายมาดำรงตำแหน่งอธิการิณี ซิสเตอร์สมพิศ เจนผาสุก เป็นผู้จัดการ และซิสเตอร์ทิพยวัลย์ ภาคสุวรรณ รับหน้าที่ครูใหญ่ มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ ๒๐๐คน

ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ซิสเตอร์ดุษณี วงศ์ประดู่ ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ แทนซิสเตอร์ทิพยวัลย์ ภาคสุวรรณ ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนเซนต์แมรี่ อุดรธานี

ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ สร้างอาคารเรียนใหม่อีก ๑หลัง “อาคารมาเรีย มัสซาแรลโล” ใช้เป็นห้องเรียน ๑๐ห้อง ได้รับอนุญาตเพิ่มจำนวนนักเรียนเป็น ๑,๖๘๐คน จัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการ โรงเรียนตามระเบียบ สช.

ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ปีเยาวชนสากลรณรงค์เยาวชนให้เป็นผู้นำ ส่งเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ อบรมการใช้สัญญาณจราจร

ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ปีสันติภาพสากล จัดสร้างกำแพงหน้าโรงเรียนและทางเดินตลอดแนวกำแพง ให้ชื่อว่า “ทางเดินสันติภาพ”

ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ปีดอนบอสโก ครบรอบศตวรรษแห่งมรณภาพของคุณพ่อบอสโก ผู้สถาปนาคณะซาเลเซียน สร้างหอประชุมเลาราเป็นอาคารอเนกประสงค์

ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับอนุญาตให้เปิดชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เปิด ๒ห้องเรียน จัด ๓แผน ได้รับอนุญาตเพิ่มอัตราจำนวนนักเรียนเป็น ๒,๒๐๐ คน

ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เปลี่ยนระบบอนุบาลศึกษาจาก ๒ระดับชั้น เป็น ๓ระดับชั้น รับนักเรียนอายุตั้งแต่ ๓-๕ปี เปิดสอนคอมพิวเตอร์เป็นวิชาเลือกเสรี ในหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และวิชาพิเศษสำหรับกลุ่มสนใจ ซิสเตอร์นาเดีย แฟร์โร ย้ายมาดำรงตำแหน่งอธิการิณีแทนซิสเตอร์คัทริน โอเปสโซ

ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ สร้างห้องเรียนชั่วคราว ๓ห้องเรียน และได้รับอนุญาตเพิ่มจำนวนนักเรียน ในอัตรา ๒,๓๕๐คน ปีนี้เป็นปีแรกที่นักเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ผลการสอบ พบว่า นักเรียนศึกษาต่อมหาวิทยาลัย ร้อยละ ๕๐อีก ๕๐คงศึกษาต่อสายอาชีพ ปีนี้เริ่มก่อสร้างอาคารเรียนใหม่อีก ๑หลัง “อาคารอนุสรณ์ ๔๐ ปี” เป็นอาคาร ๓ชั้น ๑๘ห้องเรียน ชั้นล่างใช้เป็น โรงอาหาร ส่วนชั้น ๒และชั้น ๓ ใช้เป็นห้องเรียน ระบบการพัฒนานักเรียนจึงครบวงจรทุกระดับชั้น มีการรวมเนตรนารี-ยุวกาชาดและกีฬาสี เข้าเป็นโครงการหมู่บ้าน ๔หมู่สี

ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เริ่มโครงการพัฒนาโรงเรียนเพื่อการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการโรงเรียน ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนเอกชนดีเด่น ระดับมัธยมของเขตการศึกษา ๓ ในกลางปีได้เปิดอาคารเรียนใหม่ ชื่อ “อาคารอนุสรณ์ ๔๐ ปี” และได้รับอนุญาตให้เพิ่มจำนวนนักเรียนได้ในอัตรา ๔,๒๔๐คน

ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ดำเนินนโยบายพัฒนาโรงเรียน ครบองค์ประกอบ ๘ประการ บุคลากรครูได้รับการอบรมเป็นระยะตลอดปี ด้านการเรียนการสอน และกิจกรรมนักเรียน ปรากฏว่ามีประสิทธิผลค่อนข้างสูงในทุกรายวิชา และได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้ได้มาตรฐาน กล่าวได้ว่าคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับดี แม้ว่าทางโรงเรียนยังไม่ขอรับรองมาตรฐาน

ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ปีนี้ซิสเตอร์วินาพร กิจสวัสดิ์ มารับผิดชอบอนุบาลแทนซิสเตอร์อรพินท์ คะเนเร็ว รัฐบาลปรับการอุดหนุนดีขึ้น การปรับเงินเดือนครูเพิ่มวุฒิกระทำ ๒ครั้ง ปรับค่าธรรมเนียมการเรียนเล็กน้อย ได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มพิเศษนำไปใช้ปรับปรุงพัฒนาโรงเรียน เป็นต้นอาคารสถานที่ สื่อการเรียนการสอน สนับสนุนทางการศึกษา การอบรมทั้งครูและนักเรียน ปีนี้ขยายห้องคอมพิวเตอร์อีก ๑ห้อง รวม ๖๐เครื่อง และวางโครงการสร้างอาคารเรียนอนุบาล “อาคารมารีรักษ์” เพื่อทดแทนอาคารเดิมที่กำลังชำรุด

ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ซิสเตอร์ทิพยวัลย์ ภาคสุวรรณ ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ แทนซิสเตอร์ดุษณี วงศ์ประดู่ ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่ที่โรงเรียนเซนต์แมรี่ อุดรธานี และซิสเตอร์ดาริณี หมั้นทรัพย์ย้ายมาแทนซิสเตอร์วินาพร กิจสวัสดิ์ปีนี้โรงเรียนเปิดกองร้อยพิเศษเนตรนารี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมนักเรียนให้เป็นผู้นำ ทั้งในด้านความประพฤติ และการเรียน รวมทั้งร่วมมือกับคณะครูเนตรนารีในการจัดการฝึกอบรมเนตรนารีระดับต่าง ๆ

เรื่องการจัดมาตรฐานการศึกษาตามที่สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชนกำหนด ทางโรงเรียนได้เชิญวิทยากร อาจารย์ดร.ประเสริฐ วิเศษกิจ อาจารย์จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร มาเป็นวิทยากรสัมมนาเชิงปฏิบัติการให้แก่ครูทุกคนในโรงเรียน เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการวางนโยบายมาตรการ แผนงาน และโครงการให้สอดคล้องมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนกำหนด

นอกจากนี้ โรงเรียนยังได้ส่งผู้แทนนักเรียนร่วมประชุมเยาวชนโลก ณ ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเวลา ๒สัปดาห์ คือ ตั้งแต่วันที่ ๕กันยายน ถึง ๒๐กันยายน ๒๕๓๗

ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ซิสเตอร์นิภา ระงับพิษ ย้ายมาดำรงตำแหน่งอธิการิณีแทนซิสเตอร์นาเดีย แฟร์โร ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งอธิการิณีที่หอพักเอาซีลีอุม ศาลาแดง กรุงเทพฯ

ในปีการศึกษานี้ ได้มีการเสกและเปิดใช้อาคารอนุบาลหลังใหม่ “อาคารมารีรักษ์” ขณะที่โรงเรียนมีความพร้อมในอาคารสถานที่ นโยบายของโรงเรียนจึงมุ่งพัฒนาโรงเรียนให้ได้มาตรฐานตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนกำหนดทุกองค์ประกอบ มีการพัฒนาบุคลากรทุกกลุ่ม โดยส่งเข้ารับการอบรมอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เพื่อให้ครูมีโอกาสพัฒนาการเรียนการสอนอย่างจริงจัง

ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ระหว่างวันที่ ๑๔-๒๘เมษายน ซิสเตอร์ทิพยวัลย์ ภาคสุวรรณ และซิสเตอร์สมพิศ เจนผาสุก พร้อมกับครูกิ่งแก้ว สกุลส่องบุญศิริ และครูประนอม นาคประดิษฐ์ ได้นำนักเรียน ๒๖คน เป็นตัวแทนเยาวชนประเทศไทยเข้าร่วมงาน มหกรรมวันเด็กแห่งชาติ ณ ประเทศตุรกี และปีนี้เอง ซิสเตอร์สมพิศ เจนผาสุก ผู้จัดการ และซิสเตอร์ศรีอุทัย โสทน ย้ายไปโรงเรียนนารีวุฒิ บ้านโป่ง ซิสเตอร์ที่ย้ายมาประจำในปีนี้ คือ ซิสเตอร์สายสวาท ระดมกิจ และซิสเตอร์อรุณี ธาราพืช

ช่วงปิดภาคเรียน ผู้บริหารนำคณะครูทัศนศึกษาและดูงาน ที่โรงเรียนเซนต์แอนโทนี ณ ประเทศสิงคโปร์ นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ ๖สายวิทย์ฯ ได้แก่ นางสาวอรทัย ชาญสันติ สอบได้คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อันดับ ๑ของโรงเรียนใน ๑๔จังหวัดภาคใต้ เพื่อเข้าเรียนในปีการศึกษา ๒๕๓๙

ได้รับเกียรติบัตร โรงอาหารดีเด่นจากกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข และจากเทศบาลนครหาดใหญ่

ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ปีนี้ซิสเตอร์ศุภวรรณ เดื่อมทั้น ย้ายมาประจำที่นี่ มีครูได้รับเกียรติบัตรในวันการประถมศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน คือ นางสาวทิพย์วรรณ อึ้งเศรษฐพันธ์ ครูการงาน-อาชีพดีเด่น นางวรรณา ดาเระหมีน ครูแนะแนวดีเด่น และนางพัชรนันท์ สามะ ครูวิทยาศาสตร์ประถมดีเด่น

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ที่สอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย สายวิทย์-คณิต จำนวน ๓๗คน สอบได้ ๒๒คน คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๔๘ สายศิลป์-คำนวณ จำนวน ๔๗คน สอบได้ ๓๖คน คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๖๐ที่เหลือเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเอกชน นักเรียนทุกคนศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

ได้รับโล่เกียรติยศโรงอาหารดีเด่นตลอด ๕ปี จากเทศบาลนครหาดใหญ่ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๙

ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ปีนี้ครูสุชฎา บุญศรี ได้เข้าร่วมในโครงการร่วมมือกับศูนย์ SRECAM พัฒนาครูคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ วันที่ ๔-๓๐พฤษภาคม ณ ศูนย์ Recam ปีนัง ประเทศมาเลเซีย

ปีนี้มีนักเรียนได้รับทุน A.F.S. ระยะยาว ๑คน คือ นางสาววริญธร ศิวะนารถวงศ์ ณ ประเทศออสเตรเลีย และหลักสูตรระยะสั้น คือ นางสาววิรัญธร ศิวะนารถวงศ์ นางสาวนันทพร ชัยเสนะ และนางสาว ชริเสาร์ ศรีสุทธิ์พรสกุล

นักเรียนชั้น ม.๖ที่สอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย สายวิทย์-คณิต จำนวน ๔๑คน สอบได้ ๓๙คน คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๑๒ สายศิลป์-คำนวณ จำนวน ๕๒ คน สอบได้ ๔๖คน คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๔๖จำนวนนักเรียนทั้งหมด ๙๓คน สอบได้ ๘๕คน คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๔๐นักเรียนทุกคนเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ส่วนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕สายวิทย์-คณิต สมัครสอบ ๒๕คน สอบได้ ๑๖คน และสายศิลป์-คำนวณ สมัครสอบ ๘คน สอบได้ ๔คน

ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ปีนี้มีการย้ายซิสเตอร์หลายท่านคือ ซิสเตอร์อมรินทร์ ฤทัยคงถาวร ซิสเตอร์ศรีอุทัย โสทน ซิสเตอร์ดาริณี หมั้นทรัพย์ ซิสเตอร์ที่ย้ายมาประจำในปีนี้คือ ซิสเตอร์ไพเราะ ศันสยุทธ ซิสเตอร์อันนามาเรีย โมเชเล ซิสเตอร์อรพินท์ คะเนเร็ว ซิสเตอร์ระพีพรรณ เจริญรัตน์ และซิสเตอร์ยุพา ชูลีระรักษ์

โรงเรียนได้รับอนุญาตให้ปรับปรุงใช้ห้องประกอบเป็นห้องเรียน จำนวน ๑๐ ห้องเรียน มีอาคารเรียนคอนกรีต ๔ หลัง จำนวน ๖๒ ห้องเรียน พร้อมห้องประกอบ มีความจุจำนวนนักเรียนทั้งโรงเรียน ๓,๒๐๐ คน

นักเรียนทุน A.F.S.ระยะยาวปีนี้ได้แก่ นางสาวสุรัชญา เล่าวจีศาสตร์ เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐเนวาดาเมืองเรโน

นักเรียนชั้น ม.๖ที่สอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย สายวิทย์-คณิต จำนวน ๔๐คน สอบได้ ๓๗คน คิดเป็นร้อยละ ๙๔.๕๗สายศิลป์-คำนวณ จำนวน ๔๖คน สอบได้ ๔๑คน คิดเป็นร้อยละ ๘๙.๑๓ จำนวนนักเรียนทั้งหมด ๘๖คน สอบได้ ๗๘คน คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๖๙นักเรียนทุกคนเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา

ปีนี้เป็นปีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษาครบ ๗๒พรรษา โรงเรียนได้จัดกีฬาสีเทอดพระเกียรติ ในวันที่ ๙กันยายน ๒๕๔๒และร่วมในงานมหกรรมกีฬาเทอดพระเกียรติ ร่วมกับโรงเรียนเอกชนในเทศบาลนครหาดใหญ่

โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรโรงเรียนสีขาว เฉลิมพระเกียรติปลอดยาเสพติด จากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล และได้รับโล่ชนะเลิศการประกวดความสะอาด และการรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนประจำปี ๒๕๔๒จากเทศบาลนครหาดใหญ่ เมื่อวันที่ ๘กันยายน ๒๕๔๒

ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ซิสเตอร์วนิดามาลาวาลย์ ย้านมาเป็นอธิการิณีแทน ซิสเตอร์นิภา ระงับพิษ ซึ่งไปรับหน้าที่เลขาของแขวง ปีนี้มีนักเรียนสอบชิงทุน A.F.S ระยะยาว ๔คน คือ นางสาวชริเสาร์ ศรีสุทธิพรสกุล นางสาวนิกส์ ยืนตระกูล นางสาวพัชริยา ธีรโรจนวงศ์ และนางสาวธีรตี ไชยจารีย์ นักเรียนที่ได้รับทุน YES ๒คน คือ นางสาวดวงชีวัน แซ่ว่อง และนางสาวศิริรัจน์ พฤษวรนันท์ นักเรียนที่ได้รับทุนจากสมาคมอเมริกัน ๑คน คือ นางสาวกมลวรรณ คัตตพันธ์

ในปีนี้ช่วงเดือนพฤศจิกายน เกิดอุทกภัยที่นำความเสียหายอย่างมากแก่ชุมชนมืองหาดใหญ่และโรงเรียนได้รับความเสียหายอย่างมาก เช่นอุปกรณ์ พัสดุ ครุภัณฑ์และห้องปฏิบัติการ ในช่วงปลายปีการศึกษาได้ส่ง โรงเรียนเข้ารับการประเมินมาตรฐานการศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

ปีการศึกษานี้ นักเรียนสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยทั้งสายวิทย์-คณิต จำนวน ๓๖คน สอบได้ ๓๖คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐สายศิลป์คำนวณ จำนวน ๔๓คน สอบได้ ๓๙คน คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๖๙ รวมนักเรียนที่สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ทั้งสายวิทย์-คณิตและศิลป์คำนวณ คิดเป็นร้อยละ ๙๔.๙๓

 

ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร คือ ซิสเตอร์พรรณี จารุวิภาค เป็นผู้จัดการแทน ซิสเตอร์ยุพา ชูลีระรักษ์ ซิสเตอร์ศรีสุดา สุทธิรัตนากร เป็นครูใหญ่แทน ซิสเตอร์ทิพยวัลย์ ภาคสุวรรณ และซิสเตอร์รุจิรา เจริญรัตน์ มารับผิดชอบระดับอนุบาล แทนซิสเตอร์ดาริณี หมั้นทรัพย์ นโยบายของโรงเรียนมุ่งอบรมนักเรียนให้เป็นไปตามอุดมการณ์ประจำปีที่ว่า “เยาวชนรวมพลัง นำความหวัง ความสุขแท้ แห่งสหัสวรรษใหม่” มีการจัดเฉลิมฉลองโอกาส ครบ ๕๐ปี โรงเรียนธิดานุเคราะห์ มีพิธีเสกอาคารปีติมหาการุณ โดยพระคุณเจ้าประพนธ์ ชัยเจริญ ประมุขแห่งสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี และเปิดอาคารโดยนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี มาเป็นประธาน ภาคค่ำมีงานเลี้ยงและการแสดงแสง สี เสียงของนักเรียนชั้นต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีการฉลอง ๕๐ปี มาเดอร์มัสซาแรลโล ได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญ ซึ่งได้มีการจัดกิจกรรม “Thida–Saengthoong walkatorn ครั้งที่ ๒” ระหว่างนักเรียน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และผู้สนใจในชุมชน

ในการพัฒนาบุคลากรสู่การปฏิรูปการศึกษาได้มีการส่งเสริม สนับสนุน ให้ครูผู้สอนได้รับการอบรมสัมมนา และส่งครูเข้ารับการประเมินเป็นครูแกนนำ ชุดแรก จำนวน ๔คน

โรงเรียนส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่งและมีความสุข ตามนโยบายการจัดการศึกษาตลอดปีการศึกษา ซึ่งปรากฏผลคือ นางสาวฉัตรศิธร วิบูลย์ขวัญ ได้รับการคัดเลือก ให้เป็น นักเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมขนาดกลาง ของเขตการศึกษา ๓ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ในด้านวิชาการมีนักเรียนที่ได้รับรางวัลที่ ๑การแข่งขันสะกดคำภาษาอังกฤษ “Spelling Be” ของบริษัทเนชั่นมัลติมีเดีย ระดับภาคใต้ ได้รับโล่เกียรติยศจาก ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๓เข้าแข่งขันโครงการพัฒนาอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ของสสวท. ได้รับรางวัลเหรียญทอง ๑เหรียญ เหรียญเงิน ๒เหรียญ และนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๖ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง ๑เหรียญ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖สายวิทยาศาสตร์ นางสาวกัญญวิสาข์ คัตตพันธ์ ได้คะแนนสูงสุดสายวิทย์–คณิตระดับภาคใต้ ในการสอบคัดเลือกโดยวิธีรับตรงของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในคณะแพทย์ศาสตร์ และโดยสรุปจากจำนวนนักเรียน ๑๑๗คน นักเรียนประสบความสำเร็จในการสอบเข้า ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของรัฐบาลได้ ๘๖.๐๐% โดยแบ่งเป็นนักเรียนสายวิทย์ ๙๗.๒๒% นักเรียนสายศิลป์ ๗๕.๕๖%

ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ซิสเตอร์นิภา ระงับพิษ ได้ย้ายกลับมาเป็นอธิการิณี แทนซิสเตอร์วนิดา มาลาวาลย์ ซึ่งกลับไปกรุงเทพฯ โรงเรียนได้รับอนุญาตให้มีอาคารเรียน ๕ หลัง จำนวน ๖๔ ห้องเรียน พร้อมห้องประกอบ มีความจุจำนวนนักเรียนทั้งโรงเรียน ๓,๓๒๐ คน โรงเรียนได้ดำเนินการตามแผนงานที่ได้วางไว้ ด้วยความร่วมแรง ร่วมใจ ของทุกฝ่าย ดังปรากฏที่สำคัญในแต่ละฝ่ายดังนี้

ฝ่ายแผนงานและนโยบาย

โรงเรียนได้กำหนดธรรมนูญหรือแผนพัฒนาโรงเรียนระยะที่ ๒ปี ๒๕๔๕-๒๕๔๙กำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาโรงเรียน ดังนี้ “นักเรียนมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว เป็นเลิศด้านคุณธรรม ควบคู่ด้านวิชาการ พัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง ก้าวทันความเปลี่ยนแปลง ของสังคมและวิทยาการ มีวิจารณญาณ รู้คุณค่าสิ่งแวดล้อม ภูมิใจในความเป็นไทย กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ตามเอกลักษณ์ซาเลเซียน”โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษา ขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๕

ฝ่ายกิจการนักเรียน

โรงเรียนจัดกิจกรรมตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะโดยองค์รวมของนักเรียน ได้มีการฟื้นฟูด้านดนตรีสากลขึ้นอีกเพื่อส่งเสริมศักยภาพของนักเรียน

ฝ่ายวิชาการ

เนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปการศึกษา โรงเรียนได้ดำเนินการโดยจัดองรมเชิงปฏิบัติการแก่ครูเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในด้านหลักสูตร คุณลักษณะที่พึงประสงค์ การวัด และประเมินผล เตรียมความพร้อมสำหรับการก้าวสู่ระบบการศึกษาใหม่ตามหลักสูตรที่ประกาศให้เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ ในปีนี้โรงเรียนได้จัดให้มีการเรียนวิชาภาษาจีนเป็นปีแรก โดยนักเรียนสามารถเลือกเรียนในคาบชมรม ตั้งแต่ชั้น ป.๑ถึง ป.๖

ฝ่ายบุคลากร

มีการพัฒนาบุคลากรเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อความพร้อมสำหรับการเป็นครูมืออาชีพ ด้วยวิธีการอบรมที่หลากหลาย มีการจัดทัศนศึกษาดูงานให้กับบุคลากรที่โรงเรียนบูรณรำลึก และโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ที่จังหวัดตรัง

ฝ่ายอาคารสถานที่

ได้มีการเปลี่ยนประตูหน้าโรงเรียนใหม่ ปรับเพิ่มห้องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ สำหรับนักเรียนประถมขึ้นอีก ๑ ห้อง จำนวน ๕๓เครื่อง

ฝ่ายสัมพันธ์ชุมชน

ได้พัฒนาห้องสมุด โดยติดตั้งคอมพิวเตอร์สำหรับค้นคว้าหาความรู้ จำนวน ๔ชุด และหนังสือประเภทต่าง ๆ และทำซุ้มที่อ่านหนังสือไว้บริการนักเรียนและผู้ปกครองขึ้น ๓จุด โรงเรียนประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารโดยใช้ Web Site ของโรงเรียนเพิ่มเติมจากวิธีที่เคยปฏิบัติ

นักเรียนสอบชิงทุนเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน A.F.S. ไปศึกษาต่อยังประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ได้รวมทั้งหมด ๖คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ สอบได้รางวัลเหรียญเงิน และเหรียญทองแดง จากการแข่งขันโครงการพัฒนาอัฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ของ สสวท. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖สอบเอ็นตรงเข้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เป็นอันดับ ๓ของภาคใต้ ผลสำเร็จของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖จำนวน ๑๑๗คน ปรากฏดังนี้ ศึกษาต่อต่างประเทศ จำนวน ๘คน สอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ ๘๔.๙๕% แบ่งเป็นสายวิทย์ ๘๘.๗๑% และสายศิลป์ ๗๘.๔๓%

ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ โรงเรียนจัดการเรียนการสอนตามอุดมการณ์ประจำปีที่ว่า “We are active citizen.” ซิสเตอร์เนาวรัตน์ ธีระพัชรรังษี ย้ายมาเป็นผู้จัดการแทนซิสเตอร์พรรณี จารุวิภาค ย้ายไปเป็นผู้จัดการ ที่โรงเรียนนารีวุฒิ จังหวัดราชบุรี ซิสเตอร์สายสวาท ระดมกิจ ย้ายไปเป็นครูใหญ่ ที่โรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์ โรงเรียนได้พัฒนาการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดกลาง ปีการศึกษา ๒๕๔๖ นอกจากนี้ นางสาวเปรมิกา วัชรอมรพรรณ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ได้รับการคัดเลือกเลือกให้เป็นนักเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขนาดกลาง ปีการศึกษา ๒๕๔๖ และนางสาวสุทธาทิพย์ แซ่หมู่ ได้รับรางวัลชมเชย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายขนาดกลาง โรงเรียนได้ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สมศ. โรงเรียนจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา โดยเริ่มใช้หลักสูตรสถานศึกษา ตามแนวทางหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔ ในปีที่ ๑ของทุกช่วงชั้น โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ฝ่ายสัมพันธ์ชุมชน

คณะผู้บริหารและครูโรงเรียนเทศบาล ๒ และโรงเรียนแสงทองวิทยา มาศึกษาดูงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับการประเมินโรงเรียนรางวัลพระราชทาน และการประเมินคุณภาพภายนอก

ฝ่ายอาคารสถานที่

มีการปรับห้องเรียนให้เป็นห้องปรับอากาศในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลสัมฤทธิ์ในระดับประถม นักเรียนเข้าแข่งขันโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์ เด็กหญิงศุภิสรา ถิ่นธารา ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง คณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เด็กหญิงกรวีร์ พฤกษานุศักดิ์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง คณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เด็กหญิงปูชิดา เพชรรัตน์ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ นักเรียนสอบทุน AFS ไปต่างประเทศเป็นเวลา ๑ปี จำนวน ๗คน คือ นางสาวศิวพร แซ่เฮง (ญี่ปุ่น) นางสาวสิริธนา ติรนารถวณิช (เยอรมัน) นางสาวหทัยรัตน์ ขวัญพรหม (สหรัฐอเมริกา) นางสาววัชรินทร์ ฉายศิริพันธ์ (สหรัฐอเมริกา) นางสาวฉัตรศิธร วิบูลย์ขวัญ (สหรัฐอเมริกา) นางสาวฉัตราภรณ์ ศิริเจริญ (สหรัฐอเมริกา) และนางสาวพันธ์จิรา ทองชอุ่ม (สวิตเซอร์แลน)

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖สอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน ๑๒๐คน สอบได้ ๑๐๘คน คิดเป็น ๙๐.๐๐%

 

 

ฝ่ายบุคลากร

มีการอบรมฟื้นฟูจิตใจและให้ความรู้กับบุคลากรเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพสถานศึกษา จัดทัศนศึกษาที่จังหวัดตรัง ชมธรรมชาติและปะการังของเกาะกระดาน เกาะมรกต และเกาะเชือก เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ

วันที่ ๘ตุลาคม ๒๕๔๖ ฯพณฯ ปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เดินทางมาเยี่ยมชมภารกิจของโรงเรียน ในฐานะเป็นตัวแทนโรงเรียนเอกชน ของภาคใต้ตอนล่าง

ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ โรงเรียนจัดการศึกษาอบรมตามแนวอุดมการณ์ที่ว่า “เราคือ ผู้สื่อสารสันติภาพ” โรงเรียนได้พัฒนาเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง นางสาวพิธีกร เกิดชื่น เข้ารับการประเมินนักเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ขนาดกลาง และได้รับรางวัลชมเชย

ฝ่ายแผนงานและนโยบาย

สืบเนื่องจากการปฏิรูปการศึกษา โรงเรียนได้ริเริ่มโครงการนำร่องส่งเสริมศักยภาพด้านภาษาอังกฤษและภาษาไทยแก่นักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ติดตามดูแลในส่วนภูมิภาค ช่วงชั้นที่ ๓ปีที่ ๑ได้จัดห้องเรียนพัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษ (Semi) ห้องเรียนคณิต-วิทย์ ระดับก่อนประถมศึกษา โรงเรียนได้ขยายเพิ่มห้องเรียนระดับชั้นอนุบาล ๒และอนุบาล ๓ขึ้นอีกระดับละ ๑ห้อง โดยยังคงมีจำนวนนักเรียนเท่าเดิมเพื่อสามารถดูแลนักเรียนได้ทั่วถึง ส่งผลให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ

ฝ่ายความสัมพันธ์ชุมชน

โรงเรียนวิเชียรชม อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนสาระวิทยาศาสตร์ และ โรงเรียนกลับเพชรศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ได้มาศึกษาดูงานการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา เพื่อขอรับการประเมินโรงเรียนรางวัลพระราชทาน

ฝ่ายบุคลากร

จัดให้มีการทัศนศึกษาสถานที่สำคัญของกรุงเทพฯ เช่น ล่องแม่น้ำเจ้าพระยาชมพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และภายในห้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) รัฐสภา เป็นต้น เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

ฝ่ายวิชาการ

ระดับประถมศึกษา นักเรียนเข้าแข่งขันโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ เด็กหญิงปณิดา ปิยจริยากุล เด็กหญิงพรนิชา ชัยวิริยะวงศ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงและเด็กหญิงศศิพร จิรธรรมโอภาส ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง

ผลการสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ สมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๗ เด็กหญิงศศิพร จิรธรรมโอภาส เด็กหญิงชุติภา ศรีพงษ์พันธ์กุลและเด็กหญิงชุดาภา เสรีอภินันท์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับรางวัลชนะเลิศที่ ๑ของภาคใต้ ประเภททีม ได้รับโล่และบัตรประกาศเกียรติคุณ เด็กหญิงศศิพร จิรธรรมโอภาส ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทบุคคล และเด็กหญิงชุติภา ศรีพงษ์พันธ์กุล ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับรางวัลที่ ๒ประเภทบุคคล

ผลการสอบ PRE-ประถมต้น ประถมปลาย และมัธยมต้น โครงงานทดสอบความสามารถทางวิชาการ ปีการศึกษา ๒๕๔๗ จัดโดยชมรมบัณฑิตแนะแนว วิชาวิทยาศาสตร์ เด็กหญิงวริสา ลีธนะกุล ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ได้อันดับที่ ๑ ของจังหวัดสงขลา วิชาภาษาไทย เด็กหญิงปูชิตา เพชรรัตน์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ได้อันดับที่ ๑ของจังหวัดสงขลา วิชาคณิตศาสตร์ เด็กหญิงพรนิชา ชัยวิริยะวงศ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และเด็กหญิงศิวภรณ์ มโนมัยสันติภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ได้อันดับที่ ๑ ของประเทศ เด็กหญิงกรวีร์ พฤกษานุศักดิ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ได้อันดับที่ ๑ของประเทศ คะแนนรวม ๔ วิชาสูงสุด วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย วิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาสังคมศึกษา วิชาภาษาอังกฤษ เด็กหญิงกุลยา บูรณะนายก เด็กหญิงศศิพร จิรธรรมโอภาส ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และเด็กหญิงภิญญตา พันธ์นรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ได้อันดับที่ ๑ของประเทศ

ระดับมัธยมศึกษา ผลการสอบ PRE-ประถมต้น ประถมปลายและมัธยมต้น โครงงานทดสอบความสามารถทางวิชาการ ปีการศึกษา ๒๕๔๗จัดโดยชมรมบัณฑิตแนะแนว วิชาภาษาไทย บังคับ เด็กหญิงภัสสร แซ่หลิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ได้อันดับที่ ๑ของจังหวัดและของภาคใต้ วิชาภาษาไทยเตรียม เด็กหญิงสิริรัตน์ หลุยยะพันธ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ได้อันดับที่ ๑ของจังหวัดและของภาคใต้ วิชาภาษาอังกฤษ บังคับ เด็กหญิงนวพร อัษณางค์กรชัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ได้อันดับที่ ๑ของประเทศ และได้คะแนนรวม ๔วิชาสูงสุด ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทย และวิชาสังคมศึกษา

นักเรียนสอบชิงทุน AFS, YES, EF ไปต่างประเทศ จำนวน ๙คน นางสาวนิภาพร มาลากิจ นางสาวปรางทิพย์ ชนะรัตน์ นางสาวรัตนา วิไลถาวรสุวรรณ์ นางสาวโชษิตา แซ่โต นางสาวชุติมา ลิมปนนาคทอง นางสาวฉวีวรรณ แซ่จอง นางสาวภูมิจิตรา จารุพงศา นางสาวบุณฑริกา ทยานิธิกุล และนางสาวณิชารัตน์ พฤกษ์พัฒนรักษ์

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑๐๙ คน สอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐได้ ๑๐๗คน คิดเป็น ๙๘.๑๗% สอบได้ภาคเอกชน ๓คน คิดเป็น ๒.๘๓ %

ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ซิสเตอร์มาเรีย อันนา ตอวิเชียร ได้ย้ายมาเป็นอธิการิณีแทนซิสเตอร์นิภา ระงับพิษ ซึ่งย้ายกลับไปกรุงเทพฯ รับหน้าที่เป็นอธิการิณีเจ้าคณะแขวง โรงเรียนจัดการศึกษาอบรมตามแนวอุดมการณ์ที่ว่า “เยาวชนรุ่นใหม่ มีจุดยืนชีวิต กล้าคิดทวนกระแส แบ่งปันรักแท้ รับใช้ทุกคน”

ฝ่ายแผนงานและนโยบาย

โรงเรียนดำเนินการต่อเนื่อง โครงการส่งเสริมศักยภาพด้านภาษาอังกฤษ และภาษาไทยแก่นักเรียนต่อเนื่องในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ระดับช่วงชั้นที่ ๓ได้จัดห้องเรียนพัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษ (Semi) ห้องเรียนคณิต-วิทย์ ต่อเนื่องชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

ฝ่ายบุคลากร

โรงเรียนได้จัดทัศนศึกษาที่จังหวัดสตูล ชมธรรมชาติและปะการังของเกาะหลีเป๊ะ และหมู่เกาะใกล้เคียง จัดงานวันครอบครัว ชมพู–ฟ้า ให้รางวัลแก่ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ครบอายุ ๖๐ปี เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ

ฝ่ายวิชาการ

ระดับประถมศึกษา นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทองแดง โครงการพัฒนาอัฉริยภาพทางคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ รางวัลรองชนะเลิศของภาคใต้ ประเภททีม และรางวัลรองชนะเลิศประเภทบุคคล การสอบแข่งขันของสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันการทำบันทึกรายรับ– รายจ่ายของตนเอง และแข่งขันตอบปัญหาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นที่ ๒งานเปิดโลกการศึกษายุคใหม่สู่งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนสรรพศาสตร์ตลาดวิชา ครั้งที่ ๒ รางวัลชนะเลิศ กีฬาบาสเกตบอล กีฬานักเรียน นักศึกษา และประชาชน จังหวัดสงขลา (สงขลาเกมส์) รุ่นอายุไม่เกิน ๑๒ปี รางวัลชนะเลิศ กีฬาบาสเกตบอลเยาวชน และประชาชน รุ่นอายุไม่เกิน ๑๓ปี เทศบาลเมืองสะเดา รางวัลชนะเลิศ กีฬาบาสเกตบอลเทศบาลนครหาดใหญ่ รุ่นอายุไม่เกิน ๑๕ปี และ ๑๗ปี รางวัลที่ ๑การปั้นดินน้ำมันเป็นภาพเรื่องราวนูนต่ำ–สูง ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต ๒รางวัลเหรียญทอง การแกะสลักผักผลไม้ประเภทสวยงาม ช่วงชั้นที่ ๓ – ช่วงชั้นที่ ๔ งานเปิดโลกการศึกษายุคใหม่สู่งานศิลป-หัตถกรรมนักเรียนสรรพศาสตร์ตลาดวิชา ครั้งที่ ๒

นักเรียนสอบชิงทุน AFS, ROTARY ไปต่างประเทศ จำนวน ๖คน นางสาวธมลวรรณ จตุทอง นางสาววริษฐา อนันต์พัฒนา นางสาวณดา มณีพฤกษ์ นางสาวพิธีกร เกิดชื่น นางสาวภัคฐิชา จันทร์สุริยา และนางสาวจารุวรรณ มณี

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑๐๕คน สอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ ๙๘คน คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๐๓สอบได้ภาคเอกชน ๓คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๙๗

ด้านอาคารสถานที่

มีการปรับห้องเรียนให้เป็นห้องปรับอากาศ ช่วงชั้นที่ ๑โดยเริ่มปีละ ๑ชั้น และติดตั้งจอภาพ เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ และเครื่องเล่น CD ที่ห้องอเนกประสงค์ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ห้องฟิสิกส์ ห้องชีววิทยา ห้องจริยศึกษา เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ โรงเรียนจัดการศึกษาอบรม ตามแนวอุดมการณ์ที่ว่า “เราเป็นผู้สืบสาน ธารพระพร” โรงเรียนเข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๔๙-พ.ศ.๒๕๕๓) และได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) การประเมินอยู่ในระดับดีถึงดีมาก

ครูระดับปฐมวัย จำนวน ๑๐ คน ได้รับคัดเลือกเป็นครูต้นแบบด้านการจัดการศึกษา จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต ๒ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

๑. นางสาวนงลักษณ์ ศรีเสาวชาติ

๒. นางวราพร ชูบุญลาภ

๓. นางพรประไพ แก้วชนะ

๔. นางสาวพิทย์ แก้วแก้ว

๕. นางสาววัชราภรณ์ อัมโร

๖. นางถนอม ทองพูล

๗. นางมานิตย์ แก้วจันทร์

๘. นางสาวสมจิต ศรีชุมจันทร์

๙. นางสมใจ บุญศรี

๑๐. นางสาวจารุวรรณ เกื้อบุญ

นอกจากนี้โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพและโครงการห้องเรียนสวยโรงเรียนงาม ผลการประเมินโรงเรียนได้รับรางวัลระดับทอง ซิสเตอร์ย้ายมาใหม่ ๓ท่าน คือ ซิสเตอร์อานาโรซา ซีโวรี ตำแหน่ง รองอธิการิณี ซิสเตอร์พรรณี จารุวิภาค ตำแหน่งผู้จัดการและซิสเตอร์ ศุภวรรณ เดื่อมทั้น ซิสเตอร์เนาวรัตน์ ธีระพัชรรังษี รับตำแหน่งเป็นครูใหญ่

ฝ่ายแผนงานและนโยบาย โรงเรียนดำเนินการต่อเนื่อง โครงการส่งเสริมศักยภาพด้านภาษาอังกฤษ และภาษาไทย แก่นักเรียนต่อเนื่องในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ระดับช่วงชั้นที่ ๓ได้จัดห้องเรียนพัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษ (Semi) ห้องเรียนคณิต-วิทย์ ต่อเนื่องชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

ฝ่ายบุคลากร

โรงเรียนจัดให้มีทัศนศึกษาดูงานพืชสวนโลก จังหวัดเชียงใหม่ จัดงานวันครอบครัว ชมพู–ฟ้า ให้รางวัลแก่ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ครบ ๒๐ปี ๒๕ปี และ ๓๕ปี ครูได้รับเลือกเป็นครูต้นแบบด้านการจัดการศึกษาสาขาปฐมวัย ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ศิลปศึกษา นาฏศิลป์ การงานพื้นฐานอาชีพ และภาษาต่างประเทศ

ด้านวิชาการ

ระดับปฐมวัย

การแข่งขันกีฬาช้างน้อยเกมส์ ได้รับรางวัล ดังนี้ รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันการประกวดกองเชียร์ รางวัลรองชนะเลิศ การประกวดขบวนพาเหรด รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑การประกวดการออกกำลังกายแอร์โรบิคด้านซ์ เด็กชายวรวิชญ์ เก้าเอี้ยน ชนะเลิศกรีฑาวิ่งวิบาก อายุ ๔ปีชาย รางวัลชนะเลิศการแข่งขันกีฬาชักเย่อ อายุ ๖ ปีชาย

ระดับประถมศึกษา

โครงการพัฒนาอัฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ การแข่งขันคณิตศาสตร์ เด็กหญิงนภัสสร ดำรงกุลชาติ เด็กหญิงณัชชา จารุพานิช และเด็กหญิงกรวีร์ พฤกษานุศักดิ์ ชนะเลิศประเภททีม ภาคใต้ และเด็กหญิงกรวีร์ พฤกษานุศักดิ์ ได้รับรางวัลเหรียญเงินช่วงชั้น ๒ เด็กหญิงปัณณพร รูปประดิษฐ์ ชนะเลิศวาดภาพในหลวงเนื่องในวันสถาปนายุวกาชาดไทย ประจำปี ๒๕๕๐เด็กหญิงณิชาภัทร ดาวสดใส ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ จากการส่งผลงานประดิษฐ์ ”แมงมุมดับไฟป่า” รับโล่ห์และเงินรางวัล และได้ร่วมนำเสนอผลงาน ณ ประเทศญี่ปุ่นโครงการ “Honda ASIMO Super Idea Contest ๒” เด็กหญิงชญาพรรณ ว่องชาญกิจนักเรียนได้รับเหรียญสี่เหลี่ยมบรอนซ์ อัลบัมรูปผลงานพร้อมใบประกาศนียบัตรการประกวดงานศิลปะเด็กและเยาวชนของประเทศโปแลนด์ ครั้งที่ ๘หัวข้อ “เด็กและสุนัข” จัดโดยศูนย์เยาวชนเมืองเอนโสตโฮวา ประเทศโปแลนด์ ภายใต้ความอุปถัมภ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เด็กหญิงนันทัชพร ประทีปอุษานนท์ เด็กหญิงญาณกวี ศิริพงศ์วุฒิกร เด็กหญิงภาณุมาศ ลิมปกานนท์และเด็กหญิงนุชนาถอัศววงศ์สวัสดิ์ ได้รับรางวัลที่ ๑ระดับประถมศึกษาการแข่งขันทักษะการแกะสลักผักผลไม้ ในงานคล้ายวันสถาปนายุวกาชาด ประจำปี ๒๕๕๐ เด็กหญิงญาณกวี ศิริพงศ์วุฒิกร ชนะเลิศการแข่งขันทักษะการพูดภาษาอังกฤษช่วงชั้น ๒ ระดับเขต ระดับจังหวัด และระดับประเทศ

ระดับมัธยมศึกษา

ชนะเลิศการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล นักเรียน นักศึกษา เยาวชน ประจำปี ๒๕๔๙ (สงขลาเกมส์) รุ่นอายุไม่เกิน ๑๖ปี เด็กหญิงนภัสวรรณ คงถาวร และเด็กหญิงวริษฐา สุริยไพฑูรย์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทคู่กีฬาเทเบิลเทนนิส รุ่นอายุไม่เกิน ๑๔ปี นางสาวศราวณีย์ ชินสุวาเทย์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทเดี่ยวกีฬาเทเบิลเทนนิส รุ่นอายุไม่เกิน ๑๖ปี นางสาวจรุงจิต เตียวตระกูล และนางสาวณัฐชญา พฤกษาชนานนท์ ชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์เดินตามเส้นจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

นักเรียนสอบชิงทุน AFS ไปต่างประเทศ จำนวน ๓คน คือ นางสาวพรพิตรา ธรรมชาติ นางสาวบุษบง โชติกุญชร นางสาวฐิชานันทน์ จันทร์สุริยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖จำนวน ๑๐๖คน สอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ ๙๙คน คิดเป็น ๙๓.๔๐% สอบได้ภาคเอกชน ๗คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๖๐

ฝ่ายอาคารสถานที่

มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณประตู ๕จุด เพื่อดูแลความปลอดภัยให้กับนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนอย่างทั่วถึง โรงเรียนได้รับรางวัลโรงอาหารมาตรฐาน ระดับดีมากจากเทศบาลนครหาดใหญ่ และซิสเตอร์เนาวรัตน์ ธีระพัชรรังษี ได้รับวุฒิบัตร จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต ๒สาขาวิชาโรงเรียนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ซิสเตอร์ทองอยู่ กิจสกุล ได้ย้ายมาเป็นอธิการิณีแทน ซิสเตอร์มาเรีย อันนา ตอวิเชียร ซึ่งไปศึกษาต่อที่อิตาลี ซิสเตอร์อมรินทร์ ฤทัยคงถาวร ย้ายมาเป็นผู้จัดการแทนซิสเตอร์พรรณี จารุวิภาค โรงเรียนจัดการศึกษาอบรมตามแนวอุดมการณ์ที่ว่า “ชีวิตเป็นพระพร”

โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ระดับปฐมวัยถึงมัธยมศึกษา และนางสาวภันทิลา สายบัณฑิต เป็นนักเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และโรงเรียนได้รับเกียรติบัตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต ๒

ระดับปฐมวัย

รางวัลชนะเลิศการประกวดโครงการ และนวัตกรรมนักเรียน โรงเรียนเอกชน จังหวัดสงขลา ครั้งที่ ๒โครงการ (Project Approach) เรื่องกังหัน ได้แก่ เด็กหญิงปณิญชญาณ์ สามารถ เด็กหญิงณัฐณิชา ศรีสมบัณฑิต และเด็กหญิงชินนษา ว่องกูล รางวัลรองชนะเลิศ เรื่องรองเท้า ระดับอนุบาล ๒ เด็กหญิงมาริศา เลิศวิทยาวิวัฒน์ เด็กหญิงชนิกา จรินทรานนท์และเด็กหญิงนิชา รติพรพันธ์ รางวัลนักเรียนดีเด่น จากสมาคมการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา ได้แก่เด็กหญิงณัฐศญาภรณ์ อรรถธรรมสุนทร เด็กหญิงบุษบากร ยูถนันท์ เด็กหญิงสุภาวิตา พลสัมฤทธิ์ เด็กหญิงกรณิชวิโรจน์กุล เด็กหญิงปณิญชญาณ์ สามารถ เด็กหญิงชลธิชา สิงห์ไพบูลย์พร และเด็กหญิงปรัชกร ชีวศรีรุ่งเรือง รางวัลชนะเลิศอันดับ ๑ การประกวดระบายสีปูนพลาสเตอร์ วันแม่ ที่โรงพยาบาลเซี่ยงตึ้ง ได้แก่ เด็กหญิงสุภาวิตาพลสัมฤทธิ์ และเด็กหญิงพรรณิสรา ป่วนปั่น

ระดับประถมศึกษา

ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม การประกวดเล่านิทานประกอบท่าทาง ช่วงชั้นที่ ๑-๒งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ปี ๒๕๕๐ ภาคใต้ “เรียน เล่น เป็นงานสืบสานศิลปวัฒนธรรม” จังหวัดสุราษฎร์ธานี

รางวัลเกียรติบัตรเหรียญทอง ช่วงชั้นที่ ๒ การแข่งขันความสามารถทางคณิตศาสตร์ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ ๕ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ ณ โรงเรียนสิรินทรราชวิทยาลัย

คะแนน PRE-TEST รายวิชา’๕๐ วิชาคณิตศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ ๓ ได้อันดับที่ ๑ ของจังหวัด อันดับที่ ๑ ของภาค และรางวัลเหรียญเงิน การแข่งขันโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ (สสวท.)

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ ช่วงชั้นที่ ๒ ประเภททีม (ศูนย์ภาคใต้)การแข่งขันความสามารถทางคณิตศาสตร์ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ ๕ ปีการศึกษา ๒๕๕๐

รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ (สสวท.)

รางวัลชนะเลิศ การตอบปัญหาศีลธรรมเพื่อสันติภาพโลก ครั้งที่ ๒“World-PEC II” ณ ศูนย์สอบเทศบาลนครหาดใหญ่

รางวัลชนะเลิศการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล รุ่นอายุ ๑๒ ปี สงขลาเกมส์ ๒๐๐๗ กีฬานักเรียน นักศึกษาและประชาชน จังหวัดสงขลา ประจำปี ๒๕๕๐

รางวัลชนะเลิศการแข่งขันว่ายน้ำกรรเชียง ๑๐๐ เมตร ผีเสื้อ ๑๐๐ เมตร รุ่นอายุไม่เกิน ๙ ปี สงขลาเกมส์ ๒๐๐๗ กีฬานักเรียน นักศึกษาและประชาชน จังหวัดสงขลา ประจำปี ๒๕๕๐

รางวัลชนะเลิศ อันดับ ๑ การประกวดปั้นดินน้ำมัน วันสื่อมวลชนสากล ครั้งที่ ๔๑ สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี

รางวัลยอดเยี่ยม การประกวดแกะสลักผักและผลไม้ ช่วงชั้นที่ ๑-๒ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ปี ๒๕๕๐ ภาคใต้ “เรียน เล่น เป็นงานสืบสาน ศิลปวัฒนธรรม” ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต ๒

รางวัลระดับดี การประกวดแกะสลักผักผลไม้ ช่วงชั้นที่ ๑-๒งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ปี ๒๕๕๐ ภาคใต้ “เรียน เล่น เป็นงานสืบสานศิลปวัฒนธรรม” ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

รางวัลยอดเยี่ยม การประกวด Speaking Contest Level ๒ช่วงชั้นที่ ๒ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนปี ๒๕๕๐ ภาคใต้ “เรียน เล่น เป็นงาน สืบสาน ศิลปวัฒนธรรม” ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต ๒ และงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ปี ๒๕๕๐ ภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ระดับมัธยมศึกษา

นางสาวบุษบง โชติกุญจร ได้รับทุนการศึกษา “ASC สร้างคนดีศรีปักษ์ใต้” จากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

นางสาวเปรมิกา วัชรพิมลพันธ์ ได้รับทุนสงขลานครินทร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมอบให้แก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดีเยี่ยม และประพฤติดีที่ศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ ปีละ ๑ ทุน จากนักเรียน ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๐-๒๕๕๕

รางวัลยอดเยี่ยม การประกวดกล่าวสุนทรพจน์ ช่วงชั้นที่ ๓ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ปี ๒๕๕๐ ภาคใต้ “เรียน เล่น เป็นงานสืบสานศิลปวัฒนธรรม” ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต ๒

รางวัลยอดเยี่ยม การประกวดสักวาสด ช่วงชั้นที่ ๓-๔ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ปี ๒๕๕๐ ภาคใต้ “เรียน เล่น เป็นงานสืบสานศิลปวัฒนธรรม” ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต ๒

รางวัลที่ ๑ การประกวดเรียงความ โครงการ “เดินตามรอยพ่อ สานต่อเศรษฐกิจพอเพียง” เนื่องในโอกาสวันออมแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๐

รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล รุ่นอายุไม่เกิน ๑๒ ปี งานกีฬานักเรียน นักศึกษา และประชาชน จังหวัดสงขลา ประจำปี ๒๕๕๐

รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล รุ่นอายุไม่เกิน ๑๔ ปี งานกีฬานักเรียน นักศึกษา และประชาชน จังหวัดสงขลา ประจำปี ๒๕๕๐

รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันเทเบิลเทนนิส รุ่นอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ประเภทหญิงเดี่ยว งานกีฬานักเรียน นักศึกษาและประชาชน จังหวัดสงขลา ประจำปี ๒๕๕๐

รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันกีฬาว่ายน้ำ กรรเชียง ๑๐๐ เมตร ว่ายผีเสื้อ ๑๐๐ เมตร รุ่นอายุไม่เกิน ๙ ปี งานกีฬานักเรียน นักศึกษาและประชาชน จังหวัดสงขลา ประจำปี ๒๕๕๐

นักเรียนสอบชิงทุน AFS ไปต่างประเทศ จำนวน๖คนคือ นางสาวบุษบงโชติกุญชรนางสาวฐิชานันทน์ จันทร์สุริยา นางสาวอัญพัชร์ จันทร์สุริยา นางสาวภูมิจิตรา จารุพงศา นางสาวบุญฑริกา ทยานิธิกุล นางสาวณิชารัตน์ พฤกษ์พัฒนรักษ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑๐๒คน สอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ ๙๐คน คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๒๔ สอบได้ภาคเอกชน ๑๒คน คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๗๖

ผลการจัดอันดับสถานศึกษาที่ได้คะแนน O-NET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ รวม ๕ วิชา ๓ ปี (ปีการศึกษา ๒๕๔๘-๒๕๕๐) โรงเรียนได้อันดับที่ ๑๓ ใน ๒๐ อันดับแรกของประเทศ

ด้านอาคารสถานที่

โรงเรียนได้รับรางวัลโรงอาหารมาตรฐานระดับ “ดีมาก” ตามหลักเกณฑ์ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จากเทศบาลนครหาดใหญ่

ด้านบุคลากร

ระดับปฐมวัย ครูพรประไพ แก้วชนะ ได้รับเกียรติบัตรรางวัลงานวิจัยในชั้นเรียนดีเด่นปี ๒๕๕๐ของสมาคมการศึกษา เอกชนสงขลา

นางรพีพรรณ แพทย์พงค์ ได้รับเกียรติบัตรรางวัลงานวิจัยในชั้นเรียนยอดเยี่ยมปี ๒๕๕๐ ของสมาคมการศึกษาเอกชนสงขลา

นางรพีพรรณ แพทย์พงค์ ได้รับรางวัลครูดีเด่น ในกิจกรรมวันเปิดโลกการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา

นางสาวจรรยา บุสโร ได้รับโล่รางวัลและเกียรติบัตรชนะเลิศอันดับ ๑ การประกวดโครงการ (Project Approach) ระดับชั้นอนุบาล3 ของสมาคมการศึกษาเอกชนสงขลา

นางสาวรุจิรา เจริญรัตน์ ที่ปรึกษาทีมโครงการ ได้รับเกียรติบัตรชนะเลิศอันดับ ๑การประกวดโครงการ (Project Approach)เรื่องกังหัน ระดับชั้นอนุบาล ๓ ของสมาคมการศึกษาเอกชน

ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ซิสเตอร์สุภาวรรณ โชติผล ย้ายมาเป็นผู้จัดการแทนซิสเตอร์อมรินทร์ ฤทัยคงถาวร

โรงเรียนจัดการศึกษาอบรมตามแนวอุดมการณ์ที่ว่า “เราคือผู้สื่อสารสันติภาพ” โรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับก่อนประถมศึกษา ขนาดใหญ่ จากกระทรวงศึกษาธิการ

ระดับปฐมวัย ผลการแข่งขันทักษะภาษาอังกฤษ English Contest X ระดับก่อน ประถมศึกษา หลักสูตรภาคปกติ ชิงแชมป์ภาคใต้ เด็กชาย นพินทิพย์ ชูชาติพงษ์ ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ ๑

นักเรียนได้รับรางวัลนักเรียนดีเด่นระดับปฐมวัยของโรงเรียนเอกชน ได้แก่ เด็กหญิงภัทรณิชา ดาวสดใสเด็กหญิงณิช ปรีชาวีรกุลเด็กหญิงชาลิสา อารีวัฒนาและเด็กหญิงเภตรา ชื่ออารมณ์

โรงเรียนได้มาตรฐานการสุขาภิบาลอาหาร ระดับดีมาก ของกรมอนามัย

โรงเรียนได้รับรางวัลโรงอาหารมาตรฐาน ระดับดีมาก จากเทศบาลนครหาดใหญ่

โครงการ SME หรือ Salesian Science Math and English for Gifted Students ได้เริ่มจัดให้มีขึ้นในปีการศึกษา ๒๕๕๑ โดยมุ่งหวังพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ให้เต็มศักยภาพ สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ กล้าแสดงความคิดเห็น มีทักษะการใช้ชีวิต การใช้เทคโนโลยี และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

ลักษณะของหลักสูตร ประกอบด้วยหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรขยายประสบการณ์ โดยมีการเรียนการสอนร่วมกันของนักเรียนทั้ง ๒ โรงเรียน คือ โรงเรียนธิดานุเคราะห์ และโรงเรียนแสงทองวิทยา และใช้สถานที่ทั้งสองแหล่งเป็นแหล่งเรียนรู้

ผลการจัดอันดับสถานศึกษาที่ได้คะแนน O-NET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนได้อันดับที่ ๑๑ ของประเทศ

ด้านอาคารสถานที่

โรงเรียนได้ติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณประตูเข้า-ออกเพิ่มเติม เพื่อดูแลความปลอดภัย นอกจากนี้ โรงเรียนได้รับรางวัลโรงอาหารมาตรฐานระดับ “ดีมาก” จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขและเทศบาลนครหาดใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๕๐

ด้านบุคลากร

ระดับปฐมวัย นางพรประไพ แก้วชนะ ได้รับเกียรติบัตรรางวัลงานวิจัยในชั้นเรียนดีเด่น ปี ๒๕๕๑ ของสมาคมการศึกษา เอกชนสงขลา

นางพรประไพ แก้วชนะ ได้รับรางวัลครูดีเด่น จากสมาคมโรงเรียนเอกชน จังหวัดสงขลาประจำปีการศึกษา ๒๕๕๑

นางรพีพรรณ แพทย์พงค์ ได้รับเกียรติบัตรรางวัลงานวิจัยในชั้นเรียนชมเชยปี ๒๕๕๑ ของสมาคมการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา

นางจารุวรรณ พันธชิต ได้รับเกียรติบัตรรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ การประกวดโครงการ (Project Approach) ระดับชั้นอนุบาล ๑ ของสมาคมการศึกษาเอกชนสงขลา

นางสาวสุนิสามณีนพรัตน์ ที่ปรึกษาทีม ได้รับเกียรติบัตรรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ การประกวดโครงการ (Project Approach) ระดับชั้นอนุบาล ๑ ของสมาคมการศึกษาเอกชนสงขลา

นางสาววัชราภรณ์ อัมโร ได้รับโล่รางวัลและเกียรติบัตรชนะเลิศอันดับ ๑ การแข่งขัน แอรโรบิกเด้นส์

โรงเรียนส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ มีผลงานด้านวิชาการ ได้แก่ ครูต้นแบบ ครูดีเด่น รางวัลดีเด่นวิจัยในชั้นเรียน มีคุณธรรม จริยธรรมด้วยการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยการสัมมนา ฟื้นฟู อบรมจิตใจ ทัศนศึกษาดูงาน ศึกษาต่อ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ ได้รับการรับรองจากคุรุสภาให้มีใบประกอบวิชาชีพครู ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกวิทยาการในปัจจุบันอย่างผู้มีจิตวิญญาณครู มอบรางวัลและแสดงความยินดีกับครูที่ปฏิบัติหน้าที่ ครบ ๖๐ ปี ๔๐ ปี ๓๕ ปี ๒๕ ปี และ ๒๐ ปี เพื่อเป็นขวัญ และกำลังใจอย่างต่อเนื่อง

ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โรงเรียนจัดการศึกษาอบรมตามแนวอุดมการณ์ที่ว่า “รักแท้ นำชีวิตสู่จิตอาสา”

ระดับปฐมวัย

เด็กหญิงกณิศา หวังศุภดิลกได้รับรางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทองจากการแข่งขันเล่านิทานประกอบสื่อในงานศิลปะหัถตกรรมระดับประเทศ และได้รับรางวัลนักเรียนดีเด่นระดับปฐมวัยปีการศึกษา ๒๕๕๒ จากงานเปิดโลกการศึกษาเอกชน ครั้งที่ ๔ เด็กหญิงจารุภา อำนวยสมบัติ ชนะเลิศการแข่งขันทักษะภาษอังกฤษEnglish Contest X ระดับก่อน ประถมศึกษา หลักสูตรภาคปกติชิงแชมป์ภาคใต้

โรงเรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ระดับเหรียญเงิน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ระดับเหรียญเงิน และระดับประถมศึกษาปีที่ ๖ ระดับเหรียญทอง จากสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โรงเรียนได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อม ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ และโรงเรียนผ่านการติดตามประเมินการดำรงรักษาสภาพสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน จากกระทรวงศึกษาธิการ

เด็กหญิงสุปวีณ์ ชูทองเข้ารับโล่ประทานจากพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ ในวันคล้ายวันสถาปนา ยุวกาชาดไทย

เด็กหญิงเฌอฟ้า วัฒนยนต์กิจ ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ ๑ การสอบ แข่งขันแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ของสถาบันพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์คิงแมทส์ และทัศนศึกษาประเทศเกาหลี

เด็กหญิงอนินทิตา ประดิษฐ์อุกฤษฏ์ เด็กหญิงพิมพ์ลภัส หงส์ชยางกูร และเด็กหญิงธนพร อภิชยานนท์ ได้รับรางวัลเกียรติบัตรเหรียญทอง การแข่งขันแกะสลักผักและผลไม้ประเภททีม ระดับมัธยมต้น และนางสาวธนภรณ์ วงศ์นาวา นางสาววรรษา ผดุงธรรมรักษา นางสาวปภาวี วงศ์พายัพไพบูลย์ ได้รับรางวัลเกียรติบัตรเหรียญทอง การแข่งขันแกะสลักผักและผลไม้ประเภททีม ระดับมัธยมปลาย งานศิลปะหัตกรรมภาคใต้ ครั้งที่ ๕๙

นักเรียนสอบชิงทุน AFS ไปต่างประเทศ คือ นางสาวพรอิสรา วงศ์สุภาพ นางสาวบุรัสกร รุ่งเรืองสำราญกุล นางสาวจินต์กนก ณ นคร นางสาวณัชชา คู่พันทวี และนางสาวปวริน อมรธาตรี

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๙๘ คน สอบเข้ามหาวิทยาลัยภาครัฐ ๙๕คน ร้อยละ ๙๖.๙๓ สอบเข้าภาคเอกชน ๓ คน ร้อยละ ๓.๐๗

ด้านบุคลากร

ระดับปฐมวัย

นางรพีพรรณ แพทย์พงค์ ได้รับเกียรติบัตรรางวัลงานวิจัย ในชั้นเรียนดีมาก ปี ๒๕๕๒ ของสมาคมการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา

นางจารุวรรณ พันธชิต ได้รับเกียรติบัตรรางวัลงานวิจัยในชั้นเรียนระดับดี ปี ๒๕๕๒ ของสมาคมการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา

นางสาวพนิดา วงค์เลิศประดิษฐ์ ได้รับโล่รางวัลและเกียรติบัตรชนะเลิศอันดับ ๑ สุดยอดโครงการ ปี ๒๕๕๒ การประกวดโครงการ (Project Approach)ระดับชั้นอนุบาล ๓ของสมาคมการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา

นางสาวรุจิรา เจริญรัตน์ ที่ปรึกษาทีมโครงการ การประกวดโครงการ (Project Approach) ระดับชั้นอนุบาล ๓ ได้รับเกียรติบัตรชนะเลิศอันดับ ๑ สุดยอดโครงการ ปี ๒๕๕๒ ของสมาคมการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา

นางชุติมา แซ่เจียง ได้รับเกียรติบัตรรางวัลชนะเลิศการประกวดโครงการ (Project Approach) ระดับชั้นอนุบาล ๒ ของสมาคมการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา ปี ๒๕๕๒

นางสาวรุจิรา เจริญรัตน์ ที่ปรึกษาทีมโครงการ ได้รับเกียรติบัตรรางวัลชนะเลิศการประกวดโครงการ (Project Approach)ระดับชั้นอนุบาล ๒ ของสมาคมการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา ปี ๒๕๕๒

นางจารุวรรณ พันธชิต ได้รับเกียรติบัตรรางวัลชนะเลิศการประกวดโครงการ (Project Approach)ระดับชั้นอนุบาล ๑ ของสมาคมการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา ปี ๒๕๕๒

นางสาวสุนิสา มณีนพรัตน์ ที่ปรึกษาทีม ได้รับเกียรติบัตรรางวัลชนะเลิศการประกวดโครงการ (Project Approach)ระดับชั้นอนุบาล ๑ ของสมาคมการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา ปี ๒๕๕๒

นางรพีพรรณ แพทย์พงค์ ได้รับโล่รางวัลและเกียรติบัตรชนะเลิศอันดับ ๑ ระดับประเทศ การประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ”คุณธรรมนำการคิด” พร้อมเงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ บาท

นางสาวจรรยา บุสโร ได้รับโล่รางวัลและเกียรติบัตรรองชนะเลิศอันดับ ๒ ระดับประเทศ การประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ “คุณธรรมนำการคิด” พร้อมเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท และได้รับรางวัลครูดีเด่น ระดับปฐมวัยจากสมาคมโรงเรียนเอกชนจังหวัดสงขลา

นางสาววัชราภรณ์ อัมโร ได้รับโล่รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ การแข่งขันหางเครื่องประกอบเพลงลูกทุ่ง และได้รับเกียรติบัตรชนะเลิศอันดับ ๑ การแข่งขันแอรโรบิกเด้นส์ ปี ๒๕๕๒

นางพรประไพ แก้วชนะ และนางสาวพิทย์ แก้วแก้ว ได้รับรางวัลสอนนานของโรงเรียนธิดานุเคราะห์ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๒

คณะครูระดับปฐมวัยได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๔ ชื่อจตุกดิเรกคุณาภรณ์ ได้แก่ นางกาญจนา สุภากาญจน์ นางนงลักษณ์ ศรีเสาวชาติ นางพรประไพ แก้วชนะ นางพิทย์ แก้วแก้วนางมานิตย์ แก้วจันทร์ นางวราพร ชูบุญลาภและนางสาวสมจิต ศรีชุมจันทร์

คณะครูระดับปฐมวัยได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๕ชื่อเบญจมดิเรกคุณาภรณ์ ได้แก่ นางสาวรุจิรา เจริญรัตน์นางสาวจรรยา บุสโรนางสาววัชราภรณ์ อัมโร นางสาวขจิต อินทรพัฒน์ นางรพีพรรณ แพทย์พงศ์ และนางสมใจ บุญศรี

ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ โรงเรียนจัดการศึกษาอบรมตามแนวอุดมการณ์ที่ว่า “รักแท้ รักชีวิต สู่จิตอาสา” โรงเรียนเฉลิมฉลอง ๖๐ปี ด้วยการจัดงานสังสรรค์ศิษย์เก่าและจัดพิธีต้อนรับพระธาตุของคุณพ่อบอสโก ผู้ก่อตั้งคณะธิดาแม่พระ องค์อุปถัมภ์ ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความยินดี โดยมีผู้ปกครอง ศิษย์เก่า คณะกรรมการสถานศึกษา หมู่คณะผู้อบรมและนักเรียนมาร่วมขบวนแห่ในครั้งนี้

เด็กหญิงณิชาภัทร ดาวสดใส เป็นนักเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่ กระทรวงศึกษาธิการ

เด็กหญิงเขมิกา จันทิวาสน์ เด็กหญิงปัณฑ์นรี บุญยืน เด็กหญิงวรมน สวัสดีและเด็กหญิงดลภัทร์เที่ยงจรรยา ได้รับโล่รางวัลพร้อมเกียรติบัตรประเภททีมระดับภาค โครงการแข่งขันความสามารถด้านคณิตศาสตร์ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเด็กหญิงเขมิกา จันทิวาสน์ ได้รับโล่รางวัลชนะเลิศ ประเภทบุคคลระดับภาค

เด็กหญิงจิตราพร ธรรมพันธ์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับชาติและเป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันสะพานสู่ภาษาจีนโลก พร้อมทุนการศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นเวลา ๔ปี การแข่งขันประกวดสุนทรพจน์และความรู้ภาษาจีน ครั้งที่ ๓ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

นักเรียนสอบชิงทุน AFS ไปต่างประเทศ จำนวน ๗คน คือ นางสาวเปมิกา อัครเดชโชติ นางสาวจีรนุช อุดมสุด นางสาวธันยพร ดังวัธนาวณิชย์ นางสาวญาณิศาชูชาติพงษ์ นางสาวจิตประภา ลีลาภรณ์ นางสาววรชกร ปัญญศิริ และนางสาวณฎฐ์ทิตา ลิมป์ธนภัทร

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๘๖ คน สอบเข้ามหาวิทยาลัยภาครัฐ ได้ ๘๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๘๔ สอบได้ภาคเอกชน ๑คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๑๖

การสอบ O-Net ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ได้ระดับเหรียญเงิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้ระดับเหรียญทอง ระดับ ประเทศ ประเภทโรงเรียนเอกชน

ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ในปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงอธิการิณี คือซิสเตอร์นิภา ระงับพิษ ได้กลับมารับตำแหน่งแทน ซิสเตอร์ทองอยู่ กิจสกุล และผู้จัดการซิสเตอร์ฉวีวรรณ เกษทองมา มารับตำแหน่งแทน ซิสเตอร์สุภาวรรณ โชติผล โรงเรียนจัดการศึกษาอบรมตามแนวอุดมการณ์ที่ว่า “รักแท้ รักชีวิต สู่จิตอาสา” โรงเรียนได้รับการประเมินคุณภาพภายในจากหน่วยงานต้นสังกัด และรับการประเมินคุณภาพภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สมศ. รอบ ๓

เด็กหญิงรุจาภา อำนวยสมบัติ รางวัลชนะเลิศดีเยี่ยม แข่งขันพูดภาษาอังกฤษ งานวันเปิดโลกการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา ครั้งที่ ๕

ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้ทำการก่อสร้างอาคาร ๖๐ ปี เป็นห้องเรียน ห้องอเนกประสงค์ โดยมีคุณพ่อยอห์น อาเลสซันดริน เจ้าอาวาสวัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด หาดใหญ่ มาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์

โรงเรียนได้รับอนุญาตให้มีอาคารเรียน ๕ หลัง จำนวน ๖๘ ห้องเรียน พร้อมห้องประกอบ มีความจุจำนวนนักเรียนรวม ๓,๕๖๐ คน ความจุนักเรียนรวมทั้งโรงเรียนไม่เกิน ๕,๐๐๐ คน และเปลี่ยนแปลงผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต จากเดิมเป็น ซิสเตอร์ทองอยู่ กิจสกุล เป็น ซิสเตอร์อมรินทร์ ฤทัยคงถาวร

โรงเรียนจัดการศึกษาอบรมตามแนวอุดมการณ์ที่ว่า “ยืนหยัดในความดี รู้ทันเทคโนโลยี เชิดชูความเป็นไทย”

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑๑๒ คน สอบเข้ามหาวิทยาลัยภาครัฐ ๑๐๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๕๒ สอบเข้ามหาวิทยาลัยเอกชน ๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔.๔๘ นักเรียนสอบได้ทั้งหมด ๑๐๐% เด็กหญิงรุจาภา อำนวยสมบัติ ได้รับและรางวัลชนะเลิศการแข่งขันทักษะภาษาอังกฤษ ชิงแชมป์ระดับภาคใต้ ครั้งที่ ๑๙ ระดับชั้น ป.๑-ป.๓ จัดโดยโรงเรียน ศรีธรรมราชศึกษา และรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง การแข่งขันภาษาอังกฤษเพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ ๗ ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เด็กหญิงลักษิกา หงส์ฟ่องฟ้า ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับหนึ่ง การแข่งขันอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ และเด็กหญิงณัชชารีย์ โชติชูทิพย์ชยากร ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับหนึ่ง การแข่งขันอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖

ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ซิสเตอร์นิพา กู้ทรัพย์ ย้ายมาเป็นผู้จัดการแทน ซิสเตอร์ฉวีวรรณ เกษทองมา โรงเรียนจัดการศึกษาอบรมตามแนวอุดมการณ์ที่ว่า “เราคือทูตแห่งความดี มีความเชื่อเป็นพลัง นำความหวังสู่สังคม”

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑๓๒ คน สอบเข้ามหาวิทยาลัยภาครัฐ ๑๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๙๔ สอบเข้ามหาวิทยาลัยเอกชน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๐๖นักเรียนสอบได้ทั้งหมด ๑๐๐%

ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ซิสเตอร์วิรินทิพย์ อินทรแย้ม ย้ายมาเป็นผู้จัดการแทน ซิสเตอร์นิพา กู้ทรัพย์

โรงเรียนได้รับอนุญาตให้มีอาคารเรียน ๗ หลัง ห้องเรียน จำนวน ๘๗ ห้องเรียน พร้อมห้องประกอบ จำนวน ๑๖ ห้อง

โรงเรียนจัดการศึกษาอบรมตามแนวอุดมการณ์ที่ว่า “ก้าวไปด้วยกัน สานฝันพ่อบอสโก”

โรงเรียนมีพิธีเปิดและสกอาคารมารีย์นิรมลทิน โดยพระคุณเจ้าโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล ประมุขแห่งสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี มาเป็นประธาน และโรงเรียนได้จัดพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างอาคารอนุบาล (Angel) เพิ่มเติมอีก 1 หลัง

โรงเรียนได้ติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV บริเวณโรงเรียนและตามอาคารต่าง ๆ เพิ่มเติม เป็น 91 จุด เพื่อดูแลความปลอดภัยโดยรอบบริเวณโรงเรียน

เด็กหญิงปริม อมรศุภผล ได้รับรางวัลเหรียญทอง อันดับ ๑ การแข่งขันการเขียนพินอิน ป.๔-ป.๖ งานวันการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา ครั้งที่ ๗ ประจำปี ๒๕๕๗ เด็กหญิงปฤษฎาภัทร หนาแน่น ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันทักษะภาษาอังกฤษชิงแชมป์ระดับภาคใต้ ครั้งที่ ๒๑ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ จัดโดย โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษานางสาวปาณิศา อิศราพฤกษ์ นางสาวชุติกาญจน์ พรหมพูล นางสาวชนิตา พุฒซ้อน ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากการแข่งขันตอบปัญหากฎหมาย “วันรพี ประจำปี ๒๕๕๗” จัดโดย ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑๔๘ คน สอบเข้ามหาวิทยาลัยภาครัฐ ๑๓๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๒๒ สอบเข้ามหาวิทยาลัยเอกชน ๑๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.๗๘ นักเรียนสอบได้ทั้งหมด ๑๐๐%

โรงเรียนได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานจากองคมนตรี นายพลากร สุวรรณรัฐ ผู้แทนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตามโครงการธิดาร่วมพลัง สู่ความหวังคาร์บอนต่ำ “Stop Hard Start Easily” ในโครงการ “ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา” ปีที่ 9 ซึ่งจัดโดยบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ณ ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ กรุงเทพฯ

ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซิสเตอร์ศรีสุดา สุทธิรัตนากร ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการแทน ซิสเตอร์เนาวรัตน์ ธีระพัชรรังษี โรงเรียนจัดการศึกษาอบรมตามแนวอุดมการณ์ที่ว่า “เปลี่ยนโลกให้เป็นบ้าน ด้วยหัวใจพ่อบอสโก”

โรงเรียนได้รับอนุญาตให้มีอาคารเรียน ๘ หลัง ห้องเรียน จำนวน ๘๘ ห้องเรียน พร้อมห้องประกอบ จำนวน ๒๒ ห้อง

ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ปีแห่งความทรงจำที่จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย เพราะเป็นปีที่ประเทศสูญเสียพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ พระมหากษัตริย์นักพัฒนา ผู้เป็นที่รักและเป็นศูนย์รวมใจคนไทยมาถึง ๗๐ ปี เพื่อแสดงถึงความจงรักรู้คุณ โรงเรียนได้ร่วมไว้อาลัยด้วยการเชิญชวนนักเรียนให้ภาวนาอุทิศให้พระองค์ท่านตลอด ๑๐๐ วัน นำคณะครูไปกราบพระบรมศพทั้งโรงเรียนและทำดีเพื่อพ่อ

การจัดการศึกษาอบรมของโรงเรียน มุ่งเน้นตามอุดมการณ์ประจำปี “Save the world with a merciful heart” และสอดคล้องกับการประกาศของพระสันตะปาปาฟรังซิสให้เป็นปีพระเมตตา คณะผู้บริหารประกอบด้วย ซิสเตอร์นิภา ระงับพิษ อธิการิณี ซิสเตอร์กรรณาภรณ์ โสทน ผู้จัดการ และซิสเตอร์ศรีสุดา สุทธิรัตนากร ผู้อำนวยการ มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด ๓,๐๒๐ คน ครูจำนวน ๑๔๐ คน สถาบันร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและพัฒนานักเรียน ในด้านวิชาการและกิจกรรม คือ Make a wit, SIP. Smart Eng. โรงเรียนสอนดนตรีสยามกลการ และเมเจอร์คิดส์

การพัฒนาของโรงเรียน เป็นไปอย่างต่อเนื่องและเต็มรูปแบบมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศและความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคดิจิตอล โดยสรุปในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ด้านนโยบาย ได้กำหนดแผนแม่บทและทิศทางการพัฒนาในระยะที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ มีการติดตามผลการพัฒนาตามที่ได้วางแผนไว้อย่างเป็นระบบ ครอบคลุมงานฝ่ายต่าง ๆ

ด้านกิจการนักเรียน โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียนให้เป็นเด็กดี มีกิริยามารยาท มีการแสดงออกที่เหมาะสม ปลูกฝังความเป็นผู้มีวินัย รู้รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ขยัน ศรัทธา ร่าเริง ด้วยวิธีการแบบแผนป้องกัน และเป็นต้นพัฒนาให้รู้จักรักษาโลกให้น่าอยู่ด้วยกิจกรรมหมู่บ้าน เป็นประจำทุกวันอังคาร อันเป็นจุดเด่นของโรงเรียน ในการสร้างค่านิยม เพื่อส่งเสริมความเป็นพลโลกในสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นต้นได้ร่วมกันบริจาคช่วยเหลืออุทกภัยใหญ่ ช่วยพี่น้องชาวใต้ที่ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายอย่างมาก

ด้านวิชาการ โรงเรียนพัฒนาวิชาการให้เข้มแข็ง ตอบสนองต่อการพัฒนาสติปัญญาของผู้เรียนในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ จัดให้มีโปรแกรมใหม่เพิ่มขึ้นระดับประถม ตอบสนองความต้องการด้านภาษา ในอนาคต ได้แก่ โปรแกรม IEP E-Plus และ Mini E-plus และปรับการเรียนโปรแกรม Gifted ให้ตอบสนองต่อความต้องการในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระดับมัธยมเพิ่มโปรแกรม SME ธิดา ให้สามารถพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถสูง ให้เคียงคู่ไปพร้อมกับโครงการ SME ธิดา-แสงทอง และพัฒนาให้มีการเรียนคณิต-วิทย์ โปรแกรม Mini Sem เป็นภาษาอังกฤษ มีการริเริ่มการทำโจทย์ในระดับมัธยมต้น โดยอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครองให้เข้ามามีส่วนในการเสริมเพิ่มเติมการพัฒนาด้านวิชาการไปพร้อม ๆ กัน ในรูปแบบของอาสาสมัคร

ด้านอาคารสถานที่ โรงเรียนมีการปรับภูมิทัศน์ของโรงเรียนให้น่าอยู่ สวยงาม มีการทำป้ายต้อนรับหน้าโรงเรียน เพิ่มสวนหย่อม “สวนหิน ปีพระเมตตา” นอกจากนี้ ยังได้ปรับสนามเล่นที่อนุบาล สวนหย่อมอนุบาล บริเวณรอบอนุบาล เป็นแหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ มีการปรับขยายโรงอาหารใหม่ ให้สามารถรองรับนักเรียนได้อย่างเหมาะสม มีห้องเรียนพร้อมรองรับโปรแกรมต่าง ๆ อย่างพอเพียง และปรับหลังคาอาคาร 1 ใหม่ ป้องกันการรั่วซึม นักเรียนมีตึกเรียนที่มั่นคง ปลอดภัย

ด้านสัมพันธ์ชุมชน โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน พร้อมให้และรับบริการในรูปแบบต่าง ๆ เปิดโอกาสให้เป็นแหล่งเรียนรู้และจัดให้บริการสถานที่ ในการประชุม พัฒนาครู บุคลากรตลอดปี

ด้านบุคลากร บุคลากรเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ได้รับการประกาศให้เป็นครูและผู้บริหารดีเด่น

รางวัลผู้บริหารดีเด่น จากสมาคมการศึกษาเอกชน ได้แก่ ซิสเตอร์อมรินทร์ ฤทัยคงถาวร รางวัลครูดีเด่น จำนวน ๖ คน คือ คุณครูสุนิสา ศรีเฉลิม คุณครูศรีตะลา กาญจนดิลก คุณครูหงส์ลดา ขุนสีแก้ว คุณครูสิริภัสสร สถาพรพิบูลย์ คุณครูอภิญญา จรูญศิริเสถียร และคุณครูพันธ์ศักดิ์ สุวรรณวงศ์

รางวัลผู้บริหารดีเด่น จากคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ได้แก่ ซิสเตอร์ศรีสุดา สุทธิรัตนากร รางวัลครูดีเด่น คือ คุณครูธาริณี ยืนตระกูล

นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมเตรียมการเรียนการสอนแบบใหม่เข้าสู่การเรียนแบบ Flip Classroom

ด้านธุรการ มีการปรับ พัฒนา ติดตั้งอุปกรณ์อิเลคโทรนิค ที่เอื้อต่อการเรียนการสอนและบรรยากาศของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

ผลสัมฤทธิ์ นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญเงินโอลิมปิกระหว่างประเทศระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากการแข่งขันที่ประเทศอินโดนีเซีย จำนวน ๒ เหรียญ คือ เด็กหญิงเฌอฟ้า วัฒนยนต์กิจ และ เด็กหญิงพิชามญชุ์ อัศวผดุงสิทธิ์

ผลการสอบ O-Net วิชาคณิตศาสตร์ ได้คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน ระดับชั้น ป.๖ จำนวน ๒๑ คน ระดับชั้น ม.๓ จำนวน ๔ คน วิชาภาษาอังกฤษ ได้คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน ระดับชั้น ป.๖ จำนวน ๘ คน ระดับชั้น ม.๓ จำนวน ๑ คน

ผลสัมฤทธิ์ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) วิชาวิทยาศาสตร์ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ สอบได้ ๑ เหรียญทอง ๒ เหรียญเงิน และ ๒ เหรียญทองแดง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ นักเรียนได้ ๑ เหรียญทอง และ ๑ เหรียญเงิน วิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้ ๑ เหรียญเงิน

ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ โรงเรียนจัดภารกิจด้านการศึกษาตามแนวอุดมการณ์ประจำปีที่ว่า “เพาะรักเป็นพลัง สร้างสัมพันธ์แห่งครอบครัว” และเป็นปีที่ ๑๔๐ ของภารกิจการเป็นมิชชันนารีของคณะ ธมอ.

ฝ่ายบริหาร มีซิสเตอร์ทองอยู่ กิจสกุล เป็นอธิการิณี ซิสเตอร์อมรินทร์ ฤทัยคงถาวร เป็นผู้แทนผู้รับใบอนุญาต ซิสเตอร์ศรีสุดา สุทธิรัตนากร เป็นผู้อำนวยการ และซิสเตอร์กรรณาภรณ์ โสทน เป็นผู้จัดการ มีนักเรียนทั้งหมด ๓,๐๓๗ คน ครูทั้งหมด ๑๔๙ คน

โรงเรียนได้จัดทำแผนพัฒนาฉบับที่ ๕ ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๔ ได้กำหนดวิสัยทัศน์เพื่อการพัฒนาไปสู่โลกในศตวรรษที่ ๒๑ และการพัฒนาประเทศไทย ๔.๐ คือ โรงเรียนซาเลเซียนคุณภาพสากล เด่นคุณธรรม ล้ำเลิศปัญญา สร้างผู้นำ พัฒนานวัตกรรม บนพื้นฐานความเป็นไทย และการพัฒนาในศตวรรษที่ ๒๑ โรงเรียนขยายห้องเรียนระดับอนุบาล ๒ เพิ่มเป็นห้องที่ ๘ และชั้นประถมปีที่ ๑ ขยายชั้นเป็นห้องที่ ๕ โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดจำนวนนักเรียนในห้องลง เพื่อการดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง

ด้านการเรียนการสอนเน้นการพัฒนาไปสู่การสร้างสรรค์ โดยจัดให้นักเรียนทำชิ้นงาน ผลงาน บนพื้นฐานของการเรียนรู้แบบ PBL (Problem-based Learning) ต่อเนื่องระบบการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ซึ่งเป็นทิศทางที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้จริง ต่อความรู้ เกิดผลเป็นชิ้นงานได้ทุกสาระ

โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง โดยจัดให้มีการเรียนภาคฤดูร้อน ที่ประเทศจีน นักเรียนเรียนรู้ด้านภาษา วัฒนธรรม การปฏิบัติด้านการโรงแรม การฝังเข็ม และทัศนศึกษาสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะเป็นรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง

มีการนำนักเรียน SME ธิดา รุ่นที่ 1 ไปทัศนศึกษา เรียนรู้ ฝึกฝนประสบการณ์ การใช้ภาษาอังกฤษและศึกษาทำประสบการณ์ การเป็นผู้นำ Leadership ที่ประเทศสิงคโปร์ กับสถาบัน Marvern (มัลเวิ่น)

ในการพัฒนาการเรียนรู้ โรงเรียนได้เริ่มเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียน เติมเต็มความสมบูรณ์ในการเตรียมเด็ก ๆ สู่การเป็นผู้ใหญ่ ที่พร้อมต่อการเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ด้วยกิจกรรมเสริมทักษะชีวิตจิตอาสา การสร้างปฏิสัมพันธ์และเป็นการเป็นผู้นำผู้ตามในกลุ่มต่าง ๆ เป็นต้นกลุ่ม SME ธิดา และกลุ่ม IEP

โรงเรียนได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐาน SMT ของ สช.

ผลการพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ O-NET โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรเหรียญทองแดง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้รับเกียรติบัตรเหรียญเงิน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับประถมศึกษา

นักเรียนสอบได้คะแนนคณิตศาสตร์ ๑๐๐ เต็ม จำนวน ๑๒ คน ภาษาอังกฤษ ๕ คน

มัธยมปลายได้คะแนนคณิตศาสตร์ ๑๐๐ เต็ม จำนวน ๒ คน

มีการเริ่มใช้ บัตร smart card แทนบัตรนักเรียนและเป็นบัตรเอนกประสงค์ซื้ออาหารและอุปกรณ์ในโรงเรียน สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน